งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริงภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา




โครงการวิจัย ปัญหาการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในการแสวงหาข้อเท็จจริงภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสนอต่อ สถาบันพระปกเกล้า

             ระบบคณะกรรมาธิการในรัฐสภาถือเป็นกลไกที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับการดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติทั่วโลก ในฐานะ “สภาเล็ก” (Little Legislature) ที่คอยช่วยเหลือ “สภาใหญ่” ให้สามารถปฏิบัติภารกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนกลายเป็นที่ยอมรับนับถือกันในทางสากลว่า “คณะกรรมาธิการเป็นกระดูกสันหลังของรัฐสภา” ที่จะขาดไปเสียมิได้ อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทยเอง ยังมิพักที่จะกล่าวจำเพาะเจาะจงลงไปในเฉพาะเรื่องระบบคณะกรรมาธิการ งานวิชาการ หรืองานวิจัยทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบัน การเมืองในเรื่องฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจนิติบัญญัติ (Legislative Science) และกฎหมายรัฐสภา(Parliamentary Law) มีค่อนข้างน้อย ในขณะที่ต่างประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างมากดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า การเข้ามาศึกษาวิจัยปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๖๐ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การนำเสนอหนทางเยียวยาแก้ไขให้รัฐสภาในฐานะองค์กรที่ทำหน้าที่ผู้แทนของประชาชนสามารถดำเนินภารกิจของตนเองได้อย่างบรรลุผลตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นการเสริมสร้างให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยมีความเข้มแข็งเทียบเท่านานาอารยประเทศต่อไปอีกด้วย

ศึกษาเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศสหรัฐอเมริกา (58 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

กรอบแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของสื่อสารมวลชนและวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ส. ...

ดาวน์โหลด 14 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

แนวทางการลด คัดแยก และนำขยะมาใช้ใหม่

ดาวน์โหลด 29 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การสำรวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการดำเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

ดาวน์โหลด 48 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า