งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การวิเคราะห์ความแตกต่างของความคิดและทัศนคติทางการเมือง ระหว่างประชากรต่างช่วงวัย

ระบอบประชาธิปไตย 07 กุมภาพันธ์ 2565



เรื่อง การวิเคราะห์ความแตกต่างของความคิดและทัศนคติทางการเมือง ระหว่างประชากรต่างช่วงวัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร. วสะ บูรพาเดชะ, ดร. อนันต์ โอสถศิลป์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เสนอ สถาบันพระปกเกล้า

             การแบ่งขั้วความคิดทางการเมือง (Political Polarization) ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปรกติในสังคมประชาธิปไตยที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง ในบริบทสังคมของไทยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้นเกิดปรากฏการณ์ “การเมืองสีเสื้อ (color politics)” อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่พิเศษเพิ่มเติมจากความขัดแย้งในรูปแบบเดิมคือการก่อตัวขึ้นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (younger generation) ที่เติบโตขึ้นมาอยู่ในวัยที่สามารถสะท้อนเสียงและความคิดของตัวเองได้ พวกเขาก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองและการปกครองของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ และด้วยความก้าวหน้าของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทบาทของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการเมืองไทยจึงถูกแสดงออกผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ยิ่งผู้คนโดยเฉพาะในหมู่กลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นหันมาใช้ชีวิตในโลกโซเซียลมากยิ่งขึ้น ยิ่งก่อให้การสื่อสารที่ก่อผลกระทบในวงกว้างได้รุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น บทบาทสำคัญของอายุนั้นจึงเป็นปัจจัยที่ควรจะศึกษา ยิ่งเมื่อมันมีผลโดยตรงไม่ใช่แค่ในระดับปัจเจกบุคคลแต่ตั้งเป้าหมายไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระดับชาติด้วย

การวิเคราะห์ความแตกต่างของความคิดและทัศนคติทางการเมือง ระหว่างประชากรต่างช่วงวัย (128 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การมีส่วนร่วมต่อการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยในมิติของชุมชนผ่านสภากาแฟ กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

ดาวน์โหลด 73 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อการจัดบริการสาธารณะ

ดาวน์โหลด 43 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน

ดาวน์โหลด 46 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า