งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

บทบัญญัติทางกฎหมายและประเด็นพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่




รายงานการศึกษาและวิเคราะห์ เรื่อง บทบัญญัติทางกฎหมายและประเด็นพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. ....
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

              รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติให้รัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เป็นองค์กรหลักที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมาย ทั้งนี้ รัฐสภาจะมีบทบาทที่สำคัญในกระบวนการนิติบัญญัติสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง บทบาทในการพิจารณาร,างกฎหมาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบทบาทที่สำคัญที่สุดของสมาชิกรัฐสภา โดยรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องการให้มีผลใช้บังคับจะต้องผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาเสียก่อน ซึ่งถ้าหากสมาชิกรัฐสภาพิจารณาแล้วไม่ให้ความเห็นชอบแก่ร่างพระราชบัญญัตินั้น ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็จะต้องตกไป ประการที่สอง บทบาทในการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งถือเป็นอำนาจในการริเริ่มให้มีการออกกฎหมายโดยรัฐธรรมนูญฯ ได้กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่ายี่สิบคน สามารถเสนอร่างกฎหมายได้

บทบัญญัติทางกฎหมายและประเด็นพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีจราจร พ.ศ. .... (27 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน : ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส

ดาวน์โหลด 140 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การเมืองเรื่องการจัดการสภาวะฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ดาวน์โหลด 28 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การดำเนินชีวิตในระดับชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ดาวน์โหลด 27 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า