งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ




รายงานวิจัยชุมชนเรื่อง “บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ”
ดำเนินการวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอมอร แสนภูวา
สนับสนุนโดย สถาบันพระปกเกล้า

           การวิจัยบทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชากรณีศึกษาอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนในภาวะปกติของชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างชุมชนในภาวะปกติกับภาวะตึงเครียดของชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 5) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลักการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 32 คน ซึ่งเป็นผู้นำแบบทางการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ร่วมกับการใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการทบทวนเอกสารประกอบเพื่อช่วยให้การศึกษาครอบคลุมและใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) เพื่อตรวจสอบข้อมูล

บทบาทของผู้นำชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (119 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การมีส่วนร่วมจัดการชุมชนของประชาชนในภาวะฉุกเฉิน : กรณีศึกษาชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ดาวน์โหลด 79 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ทัศนคติของพลเมืองและประเด็นสําคัญในการเสริมสร้างประชาธิปไตย ผลการศึกษาจากการสนทนากลุ่มกับ พลเมืองทั่วราชอาณาจักรไทยระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม พ.ศ. 2565

ดาวน์โหลด 30 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

จุดเริ่มต้นสถาปนา "การปกครองประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"

ดาวน์โหลด 683 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า