งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา




รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา
ผู้วิจัย

นายคอลัฟ ต่วนบูละ
ผศ.มาหะมะดารี แวโนะ
นายมัดบัศรี อูเส็ง
นายมูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
ประจำปีงบประมาณ 2559

           การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อ รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม 2) เพื่อศึกษาสิทธิทางวัฒนธรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทาง มาตรการ การสร้างความเข้าใจถึงสิทธิทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองศาสนาตามแนวคิดหลักศาสนสัมพันธ์ในการป้องกันแก้ไขและเยียวยาปัญหาในสังคม “พหุวัฒนธรรม” ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยตามแนวทางเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Approach) ที่เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม และผู้รู้ทางศาสนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้พร้อมกับเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสรุปพร้อมเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (80 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การเมืองอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา (วัดเกต) เชียงใหม่ภายใต้กระแส “ความหวาดกลัวอิสลาม”

ดาวน์โหลด 58 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การใช้สิทธิและมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย ว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมือง

ดาวน์โหลด 24 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การพัฒนาแพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศไทย (2563) บนเว็บไซต์ : กรณีศึกษาและการประยุกต์ใช้กับการเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร

ดาวน์โหลด 17 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า