งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในชุมชน




ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในชุมชน
(THE HUMAN CAPITAL DEVELOPMENT MODEL TO ENHANCE THE THAI CITIZEN IN COMMUNITY TO BE AN ACTIVE CITIZENSHIP)
โดย ญาศินี เกิดผลเสริฐ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2562

          งานวิจัยนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวนั้น เป็นหัวใจสำคัญสาหรับการปฏิรูปประเทศ โดยงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอรูปแบบของการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อ การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในชุมชนในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร (documentary research) และศึกษาจากข้อมูลภาคสนาม (field research) โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participatory observation) พร้อมทั้งใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟายในการยืนยันรูปแบบในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในชุมชน โดยผลการวิจัย พบองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวที่สาคัญ ได้แก่ มิติด้านตัวตน และความรู้ความสามารถ และ พบกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ที่สำคัญ ได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning), การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และ Best Practices เป็นต้น โดยมีปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญในการรวมตัว การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน บทบาทของผู้นา/แกนนำในชุมชน รวมถึงการสนับสนุนจากองค์กรและเครือข่ายที่มิใช่รัฐ เป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในชุมชน โดยประโยชน์ของงานวิจัยนี้สามารถนาไปใช้ในการพัฒนารูปแบบ (model) หรือกรอบแนวคิดใหม่ๆในการปรับปรุงกระบวนการบริหารและปฏิรูปภาครัฐ เพื่อการตระหนักถึงบทบาทของภาคประชาชน โดยการสร้างสำนึกแห่งการเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ที่ตื่นตัวและพัฒนาแนวคิดรวมถึงนโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยที่ ฐานรากในสังคมไทยได้

รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัวในชุมชน (214 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ภูมิหลังและแนวคิดทางการเมืองของคณะราษฎรสายทหาร : กรณีศึกษาสี่ทหารเสือและนายพันตรีหลวงพิบูลสงครามกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475

ดาวน์โหลด 49 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การเมืองของความปรารถนากับการศึกษาการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ดาวน์โหลด 62 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สรุปผลข้อค้นพบและข้อเสนอแนะจากงานวิจัย “ทัศนคติของพลเมืองและประเด็นสําคัญในการเสริมสร้างประชาธิปไตยและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ”

ดาวน์โหลด 22 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า