งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเด็กด้อยโอกาสภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมฯ




ชื่อเรื่อง รูปแบบของกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเด็กด้อยโอกาส ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม : กรณีศึกษาองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร
(Mobilization models contributing to the formulation of psychological immunity of disadvantaged children amid social changes: A case study from a Bangkok-based non-governmental organization)
โดย กรวิกา ก้อนแก้ว
วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีการศึกษา 2559

             การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจรูปแบบของกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันขององค์กรพัฒนาเอกชน มูลเหตุในระดับบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความสาเร็จและผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการการขับเคลื่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเด็กด้อยโอกาสภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมในระดับบุคคลและองค์กร มีผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการฯ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จานวน 4 คน 2) ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มที่ 2 ได้แก่ เด็กด้อยโอกาสอายุต่ำกว่า 18 ปีที่อาศัยอยู่ในชุมชนดีดี จำนวน 6 คน 3) ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ครอบครัวเด็กด้อยโอกาส จำนวน 5 คน โดยการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) ในรูปแบบ Intrinsic cases ซึ่งการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการเทคนิค สามเส้า (Triangulation)

รูปแบบของกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเด็กด้อยโอกาสภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม (25 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ระบบยุติธรรมชุมชนในประเทศประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ดาวน์โหลด 86 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในการส่งเสริมบทบาทของ ภาคพลเมือง

ดาวน์โหลด 156 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การสำรวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการดำเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 3)

ดาวน์โหลด 21 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า