งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย




ชื่อเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย
โดย นางสาวณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี,นางสาวนุชประภา โมกข์ศาสตร์
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย โดยที่ “เยาวชน” ในการศึกษาครั้งนี้หมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาแบ่งตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในสังคมประชาธิปไตยออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ การรับข้อมูลเข้า และการส่งข้อมูลออก โดยตัวชี้วัดในกลุ่ม “การรับข้อมูลเข้า” ประกอบด้วย 1) ทักษะในการเข้าถึงข้อมูล (Access) คือ สามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารและสื่อการเมืองจากแหล่งที่หลากหลาย 2) ทักษะในการวิเคราะห์และประเมินข้อมูล (Analyze and Evaluate) คือสามารถแยกความจริงออกจากความเห็น สามารถวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และ 3) การตระหนักในหน้าที่พลเมือง คือสามารถร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นการทาผิดกฎหมาย ส่วนตัวชี้วัดในกลุ่ม “การส่งข้อมูลออก” ประกอบด้วย 1) ทักษะในการผลิตสื่อ (Create) คือสามารถเลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ 2) การมีส่วนร่วม (Participate) ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ตามบรรทัดฐานพลเมือง คือการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างการโต้แย้งโดยใช้หลักเหตุและผล การใช้ภาษาแบบสันติวิธี ไม่ใช้ถ้อยคาดูหมิ่นผู้อื่น การนำเสนอหรือแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม และ 3) การรู้สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามกฎหมาย คือไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทาร้ายหรือละเมิดผู้อื่น ไม่สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ (Copyright) และต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมอันเกิดจากการกระทำของตน มีจำนวนตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 25 ตัวชี้วัด (การรับข้อมูลเข้า 8 ตัวชี้วัด และการส่งข้อมูลออก 17 ตัวชี้วัด)


การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ฯ-02 (190 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

The Ideological Construction of femininity

ดาวน์โหลด 11 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

รายงานการวิจัยการปรับปรุงระบบงานของหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา

ดาวน์โหลด 20 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

บทบาทนานาชาติต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ของไทยและบางมุมมองต่อภาพอนาคต

ดาวน์โหลด 89 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า