งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย




ชื่อเรื่อง ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย
(A sturdiness to self-reliance of community-based Enterprises of the central region of Thailand)
โดย สนิทเดช จินตนา (Sanitdech Jintana)

       หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยุทธศาสตร์และความมั่นคง) คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2562 การวิจัยเรื่องการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสมการโครงสร้างของศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยตามข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีต่อระดับศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง ของวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉพาะภาคกลางในพื้นที่ 5 จังหวัด จำนวน 1,038 ตัวอย่าง และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่สำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการที่เชี่ยวชาญทางด้านวิสาหกิจชุมชน และตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 20 ท่าน ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ผลมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 9.30 โดยใช้สถิติ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) และการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path Analysis)

ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในการพึ่งพาตนเอง (104 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ประเมินการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประจำปี 2566 (Decentralization Report)

ดาวน์โหลด 47 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

มองอดีต แลอนาคตวัดระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันต่างๆ

ดาวน์โหลด 33 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน : ศึกษากรณีประเทศฝรั่งเศส

ดาวน์โหลด 139 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า