หน้าแรก | คลังความรู้
ภายหลังการรัฐมีการประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ประเทศไทยมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้ประชาชนได้ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้ประกาศใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีบทบัญญัติอันเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ส่งเสริมบทบาทในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดินและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นกลไกการถ่วงดุลอำนาจขององค์กรการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้การปกครองในระบบรัฐสภาอีกทั้ง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของศาลและองค์กรอิสระให้สามารถแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ได้อย่างซื่อสัตย์และเป็นธรรม เพื่อให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ จึงมีบทบัญญัติกำหนดให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเก่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยโดยใช้บทเรียนจากอดีตเป็นแนวทางดังเช่นที่กำหนดไว้ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีบทบัญญัติเช่นนี้แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่มีการดำเนินการออกกฎหมายบางฉบับซึ่งเกี่ยวกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย เช่น สิทธิมนุษยชน และธรรมาภิบาล