งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์




โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
The Study of Political movement and  Election Behavior of the House of Representatives 2019: A Case Study of Kalasin Province
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม,อาจารย์ ดร.พิมพ์ลิขิต  แก้วหานาม
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า ปีงบประมาณ 2562

            การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเลือกตั้งติดต่อกันถึงระยะเวลา 8 ปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้างของทางอำนาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน  ในส่วนของโครงสร้างทางอำนาจนั้น การเว้นว่างของการเลือกตั้งในห้วงระยะเวลา 8 ปี นี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องในบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษก่อนหน้านั้น โดยชนวนของความขัดแย้งล่าสุด อยู่ที่เรื่องพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งได้นำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และการใช้ความรุนแรงทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่หลายเมืองในประเทศไทย   

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (205 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

บทบาทของหนังสือพิมพ์การเมืองต่อสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) : กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์สยามรีวิว

ดาวน์โหลด 17 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

แม้มีสิทธิ (ตามกฎหมาย) แต่เข้าไม่ถึงสิทธิ (ตามความเป็นจริง) : กรณีศึกษาสิทธิในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานและเจรจาต่อรองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

ดาวน์โหลด 113 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดาวน์โหลด 13 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า