ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

สัมมนาออนไลน์ ขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา


        เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 สถาบันพระปกเกล้า โดย วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน จัดการสัมมนาออนไลน์ “โครงการขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งเป็นการจุดประกายความคิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเฟ้นหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยใช้รูปแบบการสัมมนาออนไลน์ปรับรูปแบบการสัมมนาในยุค New Normal  ณ ห้องประชุม 3-4 สถาบันพระปกเกล้า

       งานสัมมนาได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวเปิดงานและ Inspiring talk: “โจทย์ใหม่ท้องถิ่นไทย: การเสริมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา” ซึ่งกล่าวถึง การศึกษาที่ดีเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต และไม่ได้จบอยู่ที่การศึกษาในระบบเท่านั้น การศึกษาเป็นต้นทุนสำคัญในการสร้างคุณภาพคน โควิด-19 ทำให้การศึกษาต้องปรับเปลี่ยนมาก เปลี่ยนไปเป็นระบบการเรียนออนไลน์ โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งท้องถิ่นหลายแห่งเริ่มสนับสนุนอุปกรณ์ที่รองรับระบบการศึกษาออนไลน์ 

      ทั้งนี้ จะต้องมีวัฒนธรรมการเรียนออนไลน์ที่ดีด้วย เมื่อการศึกษาอยู่ที่บ้านการสนับสนุนจะเป็นผู้ปกครองแทน ครู อาจารย์ มาตรฐานการศึกษาออนไลน์จะเท่ากับการศึกษาในโรงเรียนหรือไม่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเกิดขึ้นหลังโควิด-19 ต้องลดความแตกต่างทำให้ทุกคนเข้าถึงสุขภาวะต่างๆ เช่น การสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ความสามารถในการใช้โอกาส เป็นต้น จากนั้น เป็นการบรรยายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ หัวข้อ “ลดช่องว่างการศึกษา: ท้องถิ่นทำได้แค่ไหน อย่างไร???” โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท (รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) กล่าวถึง สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในปัจจุบัน วิธีการจัดการ และทางออกของการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการถอดรหัสความเสมอภาคทางการศึกษา: เปิดมุมมอง ขยายประสบการณ์จากต่างประเทศ โดยวิทยากร Ms. Wan Ya Shin, (Research Manager of Social Policy, The Institute for Democracy and Economic Affairs) (IDEAS) Mr. Nitesh Anand, (Education Policy Dialogue Specialist) และMr. David Coltart  (Senator,  The Republic of Zimbabwe) และแปลไทยโดย ดร.อรพินท์ สพโชคชัย  ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันพระปกเกล้า  ในช่วงท้าย เป็นการชี้แจงรายละเอียดโครงการและการรับสมัครเข้าร่วมโครงการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ก๊กผล (รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ กรอบการวิจัยในโครงการ รวมทั้งขั้นตอน กระบวนการในการพิจารณาข้อเสนอโครงการ โดยโครงการที่ได้รับการพิจารณาข้อเสนอ จะนับเป็นผลงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น เพื่อนำไปเป็นแผนปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชนต่อไป ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ผ่านระบบซูมกว่า 300 คน รวมทั้งมีคำถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนาทางระบบซูม และทางเฟซบุ๊ค ร่วมกิจกรรมด้วย


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า