หน้าแรก | ข่าวสาร
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวคิดการจัดทำแผนงบประมาณที่คำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและวัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม” ณ ห้องสัตมรามาธิราช สถาบันพระปกเกล้า และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom
กิจกรรมดังกล่าวเร่มต้นด้วยการเตรียมความพร้อมของ อปท. แต่ละแห่งกำหนด โดยการ workshop และทำแบบประเมินความรู้ก่อนการ workshop ผ่านระบบออนไลน์ โดยการทำ Pretest เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ GRB
จากนั้น ได้รับเกียรติจาก นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวเปิดงาน โดยความสำคัญตอนหนึ่งว่า สถาบันพระปกเกล้า จัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและวัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องมาหลายปี โดยคาดหวังว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีนโยบายการบริหารงานที่คำนึงถึงความเสมอภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคม ผ่านการจัดทำโครงการโดยมีการคำนึงถึงมิติความเสมอภาคระหว่างเพศและวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้งบประมาณของแผ่นดินถูกใช้อย่างคุ้มค่า
และต่อด้วยการบรรยาย หัวข้อ “การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและวัย (GRB) คืออะไร? เพราะเหตุใดท้องถิ่นจึงควรดำเนินการ?” โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล (รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) ซึ่งกล่าวถึง นิยามและความหมายของ ความเสมอภาคระหว่างเพศ รัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้อง และ Gender responsive Budgeting (GRB) คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความจำเป็น ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของกลุ่มต่างๆของพลเมือง ที่เป็นหญิงชาย ผู้ใหญ่ คนชราและกลุ่มต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายทรัพยากร ให้เกิดความเป็นธรรม และตอบสนองความต้องการของทุกคนในสังคมมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมการทำปฏิทินแผนปฏิบัติการโครงการที่คำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและวัน โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ โดยให้ผู้เข้าอบรมนำเสนอปฏิทินแผนปฏิบัติการโครงการ ต่อด้วย การบรรยาย เรื่อง “คู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ” โดย ดร.พีรดา ภูมิสวัสดิ์ ผอ.กลุ่มมาตรการและกลไก กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและครอบครัว ซึ่งกล่าวถึงหลักการสำคัญของ GRB
ในช่วงท้ายของการอบรม เป็นการสรุปผลการทำ workshop ประเมินผลแบบมีส่วนร่วม และปิดการอบรม โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และภายหลังการอบรม ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมแสดงความคิดเห็นและถอดบทเรียน ได้แก่ เข้าใจกระบวนการเรื่อง GRB มากขึ้น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในมิติหญิงชาย นำ GRB ไปใช้ในการจัดทำงบประมาณของหน่วยงาน เป็นต้น