หน้าแรก | ข่าวสาร
เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2566 สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร จัดสัมมนา “ให้ความรู้ความเข้าใจ และความสำคัญของการบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤติ ตามแผนแม่บท การบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤติ ณ ห้องปรินซ์บอลรูม 2-3 โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ ภายในงานได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช (รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) กล่าวเปิดงาน
จากนั้น เป็นการกล่าวถึง “บทบาทของสถาบันพระปกเกล้ากับการบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤต” โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล (รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) ความสำคัญว่า การบริหารจัดการเมืองในสภาวะวิกฤติมีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นความท้าทายทางภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเมือง เช่น การจัดการน้ำท่วม อัคคีภัย โรคระบาด ปัญหาโรคระบาด ทำให้เกิดวิกฤติเหล่านี้เป็นปัญหาที่ขาดการบริหารจัดการและการวางแผนเพื่อจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
สถาบันพระปกเกล้าให้ความสำคัญต่อประเด็นการบริหารจัดการเมืองในภาวะวิกฤติเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างองค์ความรู้ทางด้านการวิจัยของสถาบันฯ โดยมีเป้าประสงค์ให้ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้จริง จึงได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครและหลายภาคส่วนในการสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยและทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นและการบรรยายเรื่อง “การบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤต” โดย รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช (รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร)
ในภาคบ่ายเป็นเวทีนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นการบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤต โดย อ.กฤติน ดิ่งแก้ว และอ.คุปต์ พันธ์หินกอง และอ.เทียนธวัช ศรีใจงาม นักวิจัยโครงการ ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ (ผอ.สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า)
ในสถานการณ์ภัยพิบัติ และวินาศภัยต่างๆ ซึ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อนและแออัดของชุมชนเมือง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนรวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสาธารณภัย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบคาดการณ์สถานการณ์ วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบ