ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

วช.ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า จัดสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


          วช.ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า จัดสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง “การประเมินผลการปฏิรูปประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”

          13 กันยายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ร่วมกับ สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า จัดสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง “การประเมินผลการปฏิรูปประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” ณ ณ ห้องประชุมประชาธิปก สถาบันพระปกเกล้า (ฝั่งห้องอบรม) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และหัวหน้าโครงการฯ นำเสนอหลักการเหตุผล ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการศึกษาวิเคราะห์ และเสนอรายงานการศึกษาประเมินผลการปฏิรูปประเทศ ระบบการปฏิรูป โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ประกอบด้วย หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรมหาชน ร่วม 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม

          จากนั้น แบ่งกลุ่มสนทนาเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ  กิจกรรมปฏิรูปประเทศ ตามแผนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ  ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่ม นางณัชชาภัทร  อมรกุล  นางสาวชญานิศวร์ เมธาสิทธิ์รวิกุล และ นายธนวัฒน์  รุ่งเรืองตันติสุข รวมทั้ง นายภควัต อัจฉริยปัญญา ผู้อำนวยการวิทยาการปกครองท้องถิ่น ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมในครั้งนี้ด้วย 

           กลุ่ม 2  ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ กิจกรรมปฏิรูปประเทศ ตามแผนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้ ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม ด้านการศึกษา ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่ม   ดร.เลิศพร  อุดมพงษ์  ผู้สรุป   นางสาวทวิติยา สินธุพงศ์  

           กลุ่ม 3  ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ  กิจกรรมปฏิรูปประเทศ ตามแผนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงาน ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่ม นางสาวปัทมา สูบกำปัง และ นางสาวนิตยา โพธิ์นอก  ผู้สรุป   นางสาวอัจจิมา  แสงรัตน์  

          ทั้งนี้ การจัดสนทนากลุ่มด้งกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้าง แนวทาง รูปแบบ และกลไกการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทรรศนะ ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการปฏิรูปประเทศ และ “ผลการปฏิรูปประเทศไทย” ในมุมมองของผู้มีบทบาทรับผิดชอบหลักในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ เพื่อวิเคราะห์ประเมินผลจากการปฏิรูปประเทศ และผลกระทบต่อประเทศชาติ สังคม และประชาชน เพื่อวิเคราะห์และสรุปแนวทางการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อโครงสร้าง แนวทาง รูปแบบ และกลไกการปฏิรูปที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า