หน้าแรก | ข่าวสาร
ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2566 หลักสูตรเสริมสร้างความเป็นพลเมืองทางวัฒนธรรมและธรรมาภิบาล รุ่นที่ 1 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานวัฒนธรรมสัญจร ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช นำโดยหัวหน้าคณะศึกษาดูงานเป็น ดร.ธนภณ วัฒนกุล ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นางธนิษฐา สุขะวัฒนะ รักษาการผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และผู้แทนจากสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วย นางสาวจารุณี คงสวัสดิ์ และนางสาววณิชา ภัทรดิลก
เสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เริ่มด้วยนำคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร รับฟังการบรรยายและร่วมกัน ห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จากนั้น เดินทางต่อไปยัง พิพิธภัณฑ์หนังตะลุง (นายหนังสุชาติ ทรัพย์สิน) โดยมี นายวาที ทรัพย์สิน ทายาทของนายหนังสุชาติ ได้เล่าถึงการแสดงหนังตะลุงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และกล่าวถึงการแสดงหนังตะลุงที่มีทั่วโลก แต่เรียกการแสดงหนังตะลุงในชื่อที่แตกต่างกัน เช่น อินเดีย ชื่อเรียกหนังตะลุง ชะยากะตะ อินโด เรียก วายันต์คูลิป เป็นต้น และพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวก็ยังเก็บรวบรวมหหนังตะลุงในชาติต่างๆ ไว้มากมาย พร้อมนี้ ยังได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการทำบ้านอยู่อาศัยมาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตว่า ทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงสร้างสรรค์มีข้อสรุป คือ ต้องมีของ ต้องมีความรู้ในของที่จัดแสดง มีอาคารจัดแสดง และ ต้องมีคนนำชม อย่างมีจิตสาธารณะ มีการจัดการ มีการถ่ายทอดสู่คนในชุมชนที่นำชมแทนกันได้รองรับนักท่องเที่ยวเพื่อบอกต่อ ๆ กัน และไปสู่การท่องเที่ยวต่อไป
อาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 ทัศนศึกษาย่านนิคมบ้านพักรถไฟชุมทางทุ่งสง ที่ทำการแพทย์เขตฯ โรงรถจักรทุ่งสง สถานีชุมทางทุ่งสง เส้นทางทศพิธราชธรรม ถึงพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น “ชุมทางประวัติศาสตร์เมืองทุ่งสง” (เทศบาลเมืองทุ่งสงต้อนรับคณะด้วยการแสดงพื้นถิ่นภาคใต้ “รำโนรา”) ชมการเขียนผ้าบาติกชุมทางทุ่งสงและสินค้าทางวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งมี นายเสถียร บริการจันทร์ สถาปนิกทัองถิ่น ที่วางแผนจะทำชุมชนรถไฟเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นความร่วมมือกันระหว่างการรถไฟ กับเทศบาลตำบลทุ่งสงร่วม บูรณะ ในพื้นที่กว่า 27 ไร่ เชื่อมต่อไปยังโรงช่างหัวรถจักร โรงรถจักรทุ่งสง เป็นโรงซ่อมหัวรถจักรรถไฟ เป็นสถาปัตยกรรมเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างจากไม้เป็นปูน มีสถาปัตยกรรมการลดการสะท้อนของเสียง จากนั้นนำคณะเดินทางไปชมลานทศพิธราชธรรม เป็นการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ ใช้กระจกสีเพื่อสร้างสีสันให้กับสถาปัตยกรรม สามารถเคลื่อนย้ายนิทรรศการโดยไม่จำเป็นต้องอยู่กับที่
ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาย่านประวัติศาสตร์ของเทศบาลเมืองทุ่งสงและการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนเมืองทุ่งสง โดยนายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสงและคณะกรรมการประชาคมวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง ณ ห้องประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำ ฯ เทศบาลเมืองทุ่งสง โดยนายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง ได้กล่าวถึงการพัฒนาเมืองทุ่งสงที่ใช้ทุนทางวัฒนธรรมโดยการนำเอาวิจัยสู่การปฏิบัติ ที่ปวงประชามีส่วนร่วม นำไปสู่การตัดสินใจในการทำงานมากขึ้น โดยนำแผนผังภูมิวัฒนธรรม และแผนผังภูมินิเวศ กว่าจะมาเป็นตลาดชุมทางทุ่งสง ซึ่งเกิดจากงานวิจัย มีอาคารบริษัทยิบอินซอย และสยามกัมมาจล น่าจะอนุรักษ์ไว้ เราต้องรักษาฐานของทุ่งสงเอาไว้เรื่องศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แค่ต้องมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายถึงจะขับเคลื่อนงานให้ประสบความสำเร็จได้ให้เกิดเศรษฐกิจทุกพื้นที่ “หลาดชุมทางทุ่งสง” ซึ่งใช้เวลายาวนานกว่าจะสำเร็จได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนทุ่งสง เปรียบเสมือนเมืองทางวัฒนธรรม ที่เทศบาลเมืองทุ่งสง ร่วมมือกับภาคเอกชน และการรถไฟ
จากนั้น คณะศึกษาดูงานได้เดินทางไปทัศนศึกษาเรื่องการอนุรักษ์บ้านเก่าโดยภาคเอกชน ณ เรือนรับรองของบริษัทยิบอินซอย โดยมี นายอริยะ ทรงประไพ สถาปนิกด้านการอนุรักษ์อาคารเก่ามาให้ความเข้าใจเรื่องการรีดนเวทบ้านที่มีความเก่าแก่ได้อย่างสวยงามและคงไว้ซึ่งโครงสร้างเดิม และกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้คือ ทัศนศึกษา “หลาดชุมทางทุ่งสง” ตลาดวัฒนธรรมชุมชน
และในวันสุดท้ายของการศึกษาวัฒนธรรมสัญจรคือวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566 เป็นการ เข้าสังเกตการณ์การประชุม ระหว่างเทศบาลเมืองทุ่งสงและชุมชนรถไฟภายใต้โครงการวิจัย “การบริหารจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชน และการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่อย่างยั่งยืน” งานวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยทุน “หน่วยบริหาร และจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่” (บพท.) กระทรวง อว ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองทุ่งสงภายใต้มิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมอาทิ บุคลากรเทศบาลเมืองทุ่งสง ดร.ธนภณ วัฒนกุล พร้อมทีมนักวิจัย ประชาคมวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง การรถไฟทุ่งสง ที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรม เพื่อปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมการจัดการพื้นที่ย่านวัฒนธรรมร่วมกับการรถไฟ ย่านหลาดชุมทางทุ่งสง สยามกัมมาจล ย่านวัฒนธรรมทางรถไฟ ภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมขับเคลื่อนเมือง การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และชุมชน