หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ




หัวเรื่อง : บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

ชื่อเรื่อง บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลัช จงสืบพันธ์ ดร.ไชยา กุฎาคาร

          “สิทธิและเสรีภาพ” ของประชาชน เป็นประเด็นที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งกำหนดให้มีการคุ้มครอง ส่งเสริมและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่มากขึ้น และได้กำหนดให้รัฐดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ให้มีการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้พ้นจากการล่วงละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น อีกทั้งยังต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้มีองค์กรอิสระหลายแห่งที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผ่านการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม องค์กรอัยการ และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินถือว่าเป็นองค์กรคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่มีความสำคัญที่สุดองค์กรหนึ่ง เพราะมีการคุ้มครองสิทธิทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐทุกประเภท

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
ชลัช จงสืบพันธ์.
บทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตาม
รัฐธรรมนูญ.-- กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๙.
๔๒๘ หน้า.
1. ผู้ตรวจการแผ่นดิน. I. ชื่อเรื่อง. II. ไชยา กุฎาคาร ผู้แต่งร่วม. ๓๒๓
ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๔๔๙-๙๘๗-๗

จัดพิมพ์โดย
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น ๕
เลขที่ ๑๒๐ หมู่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ ๐๒-๑๔๑-๙๖๐๐ โทรสาร ๐๒-๑๔๓-๘๑๘๑
เว็บไซต์ www.kpi.ac.th


Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

ดาวน์โหลด 14 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การปกครองท้องถิ่นสาธารณรัฐประชาชนจีน

ดาวน์โหลด 0 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐสภา

ดาวน์โหลด 37 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า