งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การปกครองท้องถิ่นที่เสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน




ชื่อเรื่อง การสังเคราะห์ข้อเสนอการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น : การปกครองท้องถิ่นที่เสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน
โดย รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

                นักวิชาการที่ศึกษาการกระจายอำนาจจะมีความเชี่ยวชาญในมีติใดก็ตาม มักมีความคาดหวังว่าการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยให้อำนาจนั้นตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ใกล้ชิดกับปัญหาเพื่อให้พวกเขาสามารถนำอำนาจหน้าที่ที่ได้มานำไปแก้ไขและบริหารงานท้องถิ่นของพวกเขาเอง แล้วก็คาดหวังว่าการกระจายอำนาจจะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 และพ.ศ.2550 ที่กำหนดให้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกาหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอานาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ การกาหนดอานาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญ” ซึ่งการให้ความเป็นอิสระเหล่านี้จะต้องมาพร้อมกับการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยและการให้ฝ่ายต่าง ๆ ในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทอย่างแข่งขันในการดำเนินกิจกรรม/นโยบาย

การปกครองท้องถิ่นที่เสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเข้มแข็งชุมชน (418 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่างๆ พ.ศ. 2566

ดาวน์โหลด 49 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดบริการสาธารณะ

ดาวน์โหลด 147 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาสมรรถนะและมาตรฐานการทำงาน ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาเปรียบเทียบฟิลิปปินส์และไทย

ดาวน์โหลด 32 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า