ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

พิธีเปิดการศึกษาอบรม และปฐมนิเทศ หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 10


เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล จัดพิธีเปิดการศึกษาอบรม และปฐมนิเทศหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 10 (สสสส.10) โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการศึกษาและบรรยายพิเศษ ให้แก่ผู้เข้ารับการศึกษาทั้งสิ้น 90 คน กล่าวถึง ความคาดหวังของสถาบันพระปกเกล้าต่อนักศึกษาหลักสูตร สสสส.10 สถาบันพระปกเกล้าเป็นสถาบันฝึกผู้นำ Model หนึ่งที่นำมาใช้ คือ SECI Model ที่ให้ความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ Knowledge Creation สถาบันมุ่งหวังให้นักศึกษาซึบซับความเป็นสถาบันพระปกเกล้าที่เรียกว่า KPI DNA ด้วยความผูกพันและตระหนักรู้ในความมุ่งหวังสำคัญของการจัดการเรียนการสอนของสถาบัน เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นเมล็ดพันธุ์ เป็นพลังสมองที่ทรงคุณค่าของสังคมไทย นักศึกษาจะได้ความรู้ K-Knowledge เป็นความรู้ที่มาจากเรียนรู้ร่วมกัน นอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียน รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิด ทัศนะคติ หัวใจสำคัญก็คือ Knowledge Creation การสร้างความรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ของทุกคน P-Publicness คือการคิดถึงส่วนรวม การให้ประโยชน์ต่อส่วนรวม I-Integrity คือความถูกต้องชอบธรรม รู้สิ่งที่ควรทำไม่ควรทำ ทำในสิ่งที่ถูกแม้ว่าจะเสียผลประโยชน์ สถาบันพระปกเกล้ามุ่งหวังให้ KPI DNA ได้ถ่ายทอดสู่นักศึกษา โดยให้เกิด K มีความรู้ P คิดถึงส่วนรวม I ไหว้ตนเองได้ คือ มั่นใจภูมิใจในสิ่งที่ทำถูก และได้ทำประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมต่อไป ทั้งนี้มีพลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล กล่าวรายงาน หลักสูตรมุ่งเน้นไปที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งด้วยสันติวิธีให้แก่ผู้นำความคิดในสังคมไทย และสามารถหาแนวทางแก้ไขความขัดแย้งและสร้างสันติสุขให้สังคมอย่างเป็นระบบ หลังจานั้นรับฟังรายละเอียดข้อปฏิบัติในการเป็นนักศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า จากอาจารย์วิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และยังได้รับทราบถึงกิจกรรมของสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า โดยนายวิษณุ วงศ์สมบูรณ์ นายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า ในช่วงบ่ายเข้าชมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงเทพฯ


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า