ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

เสวนาการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง ปี 62


         เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562 สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า จัดเสวนา “ภูมิทัศน์การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง 2562 วิกฤติศรัทธาและความท้าทายต่อสถาบันการเมืองไทย” ณ ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจกรรมดังกล่าวเริ่มต้นด้วย การกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน โดย นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ (รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) ดร.สติธร ธนานิธิโชติ (ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย) กล่าวแนะนำวิทยากร Prof.Allen Hicken, University of Michigan และ Prof.Meredith Weiss, University at Albany

       Prof.Allen Hicken, University of Michigan เสวนาประเด็น “ภูมิทัศน์การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง 2562 วิกฤติศรัทธาและความท้าทายต่อสถาบันการเมืองไทย” กล่าวโดยสรุปว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไทยว่า มีความพยายามเปลี่ยนแปลงกติกาให้ผู้มีอำนาจได้ประโยชน์มากขึ้น ซึ่งรูปแบบเช่นนี้พบว่าในหลายประเทศก็มียุทธศาสตร์เช่นเดียวกัน เช่น ประเทศมาเลเซีย เป้าหมายคือพยายามคัดกรองคนไม่ดีออกจากระบบ และออกแบบบรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการกระทำไม่ดี ซึ่งการออกแบบเช่นนี้ก็ส่งผลให้เกิดรัฐบาลผสม หากเปรียบเทียบกับทั่วโลกพบว่ารัฐบาลแบบนี้ส่วนใหญ่มักมีอายุสั้น และมักมีแต่เรื่องการต่อรองผลประโยชน์ จนไม่สามารถผลักดันนโยบายที่มีประโยชน์กับประชาชนได้

       ทั้งนี้ ยังวิจารณ์ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ถูกออกแบบมาว่า พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่เสียเปรียบมากที่สุดแม้ว่าจะมี ส.ส. มากที่สุดในสภา แต่ในแง่ของการทำให้เกิดพรรคการเมืองขนาดเล็กเข้าสู่สภามากขึ้น และการลบภาพการแข่งขันทางการเมืองของ 2 พรรคใหญ่ถือว่าทำได้ดี เพราะเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเก้าอี้ ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย ระหว่างการเลือกตั้งครั้งนี้กับครั้งที่ผ่านมา พบว่าเก้าอี้ ส.ส. ของพรรคเพื่อไทยลดลงมาก  Prof.Meredith Weiss, University at Albany เสวนาประเด็น “The Malaysian Elections and Afternath” กล่าวถึง บริบทและสถานการณ์การเลือกตั้งในประเทศมาเลเซีย การรับมือกับวิกฤติการณ์ความขัดแย้ง และปัญหาวิกฤติศรัทธาภายหลังการเลือกตั้ง รวมทั้งแนวทางการหาทางออกที่เป็นกติการ่วมกันในสังคม ดร.สติธร ธนานิธิโชติ (ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย) กล่าวว่า กิจกรรมการเสวนานี้อยู่ภายใต้โครงการจับตาสถานการณ์และความรู้ด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ประชาธิปไตยของไทยสามารถปรับตัวรับมือให้เท่าทันกับวิกฤติการณ์ทางการเมืองและกระแสความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ จึงต้องพัฒนานวัตกรรมประชาธิปไตยที่จะช่วยยกระดับประชาธิปไตยให้เท่าทันโลกจากกรณีศึกษาของต่างประเทศ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ทางการเมืองและแนวทางการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ส่วนในช่วงท้ายของงาน นางกาญจนา ศรีปัดถา (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) มอบหนังสือและของที่ระลึกให้กับวิทยากร


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า