ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

เวทีสาธารณะ “Section 77 of the 2017 Constitution Ways to Improve Law-Making Process Quality”


         เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า จัดเวทีสาธารณะ “Section 77 of the 2017 Constitution: Ways to Improve Law-Making Process Quality” พร้อมเปิดตัว “หลักสูตรวุฒิบัตร การรับฟังความคิดเห็นและศึกษาผลกระทบก่อนการเสนอกฎหมาย” ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวเปิดและปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 77” และกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและแนะนำวิทยากร โดย ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ (ประธานมูลนิธิแคนาดาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ)จากนั้น เป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Public Consultation and Regulatory Impact Assessment” โดย Renee Marie Mulligan, Lawyer and Legal Counsel for Policy & Legislation Division, B.C.Ministry of Attorney General, Canadaส่วนอีกกิจกรรมหนึ่ง เป็นเวทีสาธารณะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อ “หลักสูตรวุฒิบัตรการรับฟังความคิดเห็นและศึกษาผลกระทบก่อนการเสนอกฏหมาย” โดย รศ.ดร.สุปรียา แก้วละเอียด (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) อ.สุประวีณ์ อาสนศักดิ์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) คุณจุมพล ศรีจงศิริกุล (นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา) และคุณอุษา จั่นพลอย บุญเปี่ยม (ผู้อำนวยการกองนโยบายและประสานแผนกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม) ดำเนินรายการโดย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ (ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า)

        กิจกรรมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงถึงความสำคัญในการออกแบบการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งมีส่วนในการจัดทำร่างกฎหมายตามมาตรา 77 ที่มีมุ่งหมายเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงให้คำแนะนำการออกแบบรับฟังความคิดเห็นผ่านกรณีศึกษาจาก British Columvia ประเทศ Canada โดยRenée Marie Mulliganและเปิดตัวหลักสูตร "การรับฟังความคิดเห็นและศึกษาผลกระทบก่อนการเสนอกฎหมาย" เพื่อพัฒนาให้การออกกฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคตการจัดเวทีสาธารณะ และการเปิดตัวหลักสูตรครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน จากหน่วยงานราชการ พรรคการเมือง และบุคลากรในวงวิชาการ

 


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า