งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานของโรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




รายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานของโรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวี สัจจโสภณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า กันยายน 2562

       งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานของโรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง

       ผลการวิจัยพบว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีนต่างประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในด้านภาษาและวิชาชีพ โรงเรียนคริสต์สามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี โดยลดบทบาทการเผยแผ่ศาสนาในโรงเรียนลงไป เพื่อเปิดโอกาสรับนักเรียนได้มากขึ้น แม้จะเก็บค่าเล่าเรียนสูง ผู้ปกครองก็มั่นใจส่งบุตรหลานมาเล่าเรียนเพิ่มขึ้นตลอด ตลอดจนสั่งสมชื่อเสียงจนเป็นโรงเรียนชั้นนำและมีความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นที่ไว้วางใจจากหน่วยงานราชการเสมอมา ทางด้านโรงเรียนจีนก็พยายามดำเนินกิจการตามนโยบายของรัฐ แต่ปัญหาเรื่องการไม่สอนภาษาไทย และการสอนลัทธิการเมืองอันเป็นกระแสจากทางฝั่งประเทศจีน จึงกลายเป็นปัญหาที่ถูกเพ่งเล็งจากทางการ เพราะเป็นภัยต่อความมั่นคง อย่างไรก็ดี โรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีนต่างมีสถานะเหมือนกันคือเป็นโรงเรียนราษฎร์ และต้องอยู่ในมาตรฐานที่กำกับดูแลเหมือนกัน รัฐบาลจึงพยายามสร้างสมดุลในการจัดการเพื่อไม่ให้ดูเบาเกินไปสำหรับโรงเรียนจีนและเข้มงวดเกินไปสำหรับโรงเรียนคริสต์

การศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานของโรงเรียนคริสต์และโรงเรียนจีน (56 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ....

ดาวน์โหลด 94 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การเมืองการปกครองสวิสเซอร์แลนด์

ดาวน์โหลด 68 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ

ดาวน์โหลด 522 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า